อียิปต์โบราณ
อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ - เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150
ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้
ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี ประวัติ
ของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า
"ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร
ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย
หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรใหม่"
อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง
ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทำสงครามจากอำนาจของชาติอื่น
จนกระทั่งเมื่อ 31
ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง
เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์
และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน
ที่ตั้ง
อียิปต์ตั้งอยู่บนสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาและในคาบสมุทรไซนาย
ทิศเหนือ : ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและประเทศอิสราเอล
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ : ติดกับติดทะเลแดงและประเทศอิสราเอล
ทิศตะวันออก : ติดกับทะเลแดง
ทิศใต้ : ติดกับประเทศซูดาน
ทิศตะวันตก : ติดกับประเทศลิเบีย
ภูมิประเทศ
เนื่องจากตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา นอกหุบเขาเป็นทะเลทราย ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติอย่างดีป้องกันจากศัตรู ตรงกลางหุบเขามีแม่น้ำไนล์ไหลผ่าน ซึ่งในเดือนมิถุนายน – กรกฏาคมของทุกๆปี น้ำในแม่น้ำไนล์ จะท่วมสองฝั่ง และเริ่มลดในเดือนตุลาคม เมื่อน้ำลดจะทิ้งโคลนตมไว้สองฝั่งเป็นปุ๋ยอย่างดีเหมาะแก่การเกษตรกรรม ดังที่ เฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก กล่าวว่า “ อียิปต์ คือ ของขวัญจากแม่น้ำไนล์ ” แต่ชาวอียิปต์นั้นเชื่อว่า อิทธิพลการขึ้นลงของแม่น้ำเกิดจากฟาโรห์ เพราะพระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้าใจ ความสอดคล้องของจักรวาล
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
กำเนิดแห่งอาณาจักร - ในราว 3200 ปีก่อนคริสตกาล ราชาแมงป่อง (Scorpion king) ผู้ครองนครธีส (This) อันตั้งอยู่บริเวณตอนกลางแห่งลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่างๆในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน ราชาแมงป่องปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์(ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มี แสดงว่าทั้งสองพระองค์น่าจะเกี่ยวดองกัน) นามว่า นาเมอร์ (Namer)ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของฟาโรห์เมเนส(Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและสถาปนาพระองค์ขึ้น เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์โบราณ
การปกครอง
มีกษัตริย์ปกครอง เรียกว่า ฟาโรห์ ( Pharaoh ) หมายถึง บ้านใหญ่ ( The big house ) ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์ เสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง เพราะเชื่อว่า ฟาโรห์ คือ เทพเจ้ามาจุติ เพื่อปกป้องและคุ้มครองของตน
พลเมืองของอียิปต์ แบ่งเป็น 4 ชนชั้น
1. ชั้นสูง - ประกอบด้วย 2 พวก คือ
- Priests ได้แก่ นักบวช , พระ เป็นบุคคลรวยที่สุด รองจากฟาโรห์ มีความรู้สูง ฝึกให้เป็นแพทย์ รู้จักการผ่าตัด รักษาพยาบาล และ รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
- Nobles ได้แก่ พวกขุนนาง , ทหาร มีหน้าที่ป้องกันบ้านเมือง และรับใช้ฟาโรห์โดยตรง
2. ชั้นกลาง - ประกอบด้วย 2 พวก คือ
- Scriber ได้แก่ อาลักษณ์ ผู้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ
- Craftsmen , Merchants ได้แก่ ช่าง และ พ่อค้า
3. ชั้นต่ำ ได้แก่ พวก Peasant เป็นชาวนา พวกนี้ต้องทำงานหนัก มีความเป็นอยู่ยากแค้น
4. Slaves ได้แก่ พวกทาส พวกนี้ไม่มีสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใด แม้จะทำงานหนัก ก็ไม่อาจเป็นเสรีชนได้
ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. สมัยก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
2. สมัยราชวงศ์ (The Dynastic Period)
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The Period of Invasion)
1. สมัยก่อนราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C. ใน
สมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี
แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว
มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม
ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน
ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Uppe Egypt or The Southern Egypt or The Narrow Valley) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนใน บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบและเกาะแก่งน้ำตก พื้นที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้้คนอยู่บางเบา
2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the Northen Egypt or The Nite Deits) หมาย
ถึงดินแดนอียิปต์ตอนนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินแดนตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์นั้นพื้นที่เหมาะ
แก่การเพาะปลูกผู้คนอยู่หนาแน่นความเจริญเท่าที่ปรากฎในช่วงนี้คือ
ความเจริญทุกอย่างของมนุษย์ที่สามารถทำได้ในยุคหิน รวมถึงรู้จักการเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์และการชลประทาน
2. สมัยราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C. ใน
สมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้
ดำเนินการปกครองดินแดนอียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่
สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
1. สมัยต้นราชวงศ์ (The Protodynastic Period)
2. สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)
3. สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
4. สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (The New Kingdom or the Empire Age)
1. สมัยต้นราชวงศ์ (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes) รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C. และ
ยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1
กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง
แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น
แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก
2. สมัยอาณาจักรเก่า (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะ
เกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง
ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่ 3
ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม
และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่ 4
ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น
ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ที่เมือง กีซา (Giza) สมัย
อาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง ในราชวงศ์ที่ 6
เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ
ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ (Nomarch) เป็น
ผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมือง
ขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าวนี้
เรียกว่า ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง
3. สมัยอาณาจักรกลาง (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่ 12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2)
กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11
แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน
ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม
เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12
กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat) ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน
4. สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (1554-1090 B.C.) อยู่
ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20 มีธีปส์เป็นเมืองหลวง
จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ
การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์
พระให้การสนับสนุนกษัตริย์ อำนาจของขุนนางหมดไป
ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการ
ป้องกันการรุกรานของศัตรูภายนอก
ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา
กษัตริย์ที่ควรกล่าวคือ
1. อาเมส (Ahmose 1 or Amosis) เป็น
ผู้ขับไล่ฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จพร้อมทั้งสามารถกำจัดอำนาจขุนนางและ
เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก่อตั้งสมัยอาณาจักรใหม่ขึ้น

Ahmose 1 or Amosis
2. อเมนโฮเตปที่ 1 และทัสโมสที่ 1 (Amenhopet 1 ,Thutmose 1) ทั้งสองพระองค์นี้เก่งในการรบ ขยายจักรวรรดิออกไป

Amenhopet 1
3. พระนางฮัทเซฟซุท (Hatshepsut) มเหสีของทัสโมสที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกของอียิปต์และเป็นนักปกครองหญิงที่สามารถคนแรกของโลก (The First Capable Woman Rule in the Cirillzed World) ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง ทรงปกครองอียิปต์นานถึง 40 ปี ทรงฟื้นฟูการค้า ศิลปกรรมและสถาปัตยธรรม

Hatshepsut
4. ทัสโมที่ 3 (Thutmose 3) ขึ้นปกครองจริงในปี 1469 B.C.ภาย
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางฮัทเซฟซุท ทรงเก่งในการรบ ทำสงครามประมาณ 17
ครั้งเพื่อปราบศัตรูในดินแดนทางตะวันออก
ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังว่าเป็นนโปเลียนแห่งอียิปต์
ขณะเดียวกันได้ให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี
โดยหวังว่าเมื่อเด็กเหล่านั้นได้กลับดินแดนตนและขึ้นเป็นใหญ่จะจงรักภักดี
ต่ออียิปต์
ทรงสั่งให้ลงชื่อของนางฮัทเซฟซุทออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอใจที่พระนาง
ขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์

Thutmose 3
5. อเมนโฮเต็ปที่ 4 (Amenhotep 4) เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปศาสนาของอียิปต์โบราณ เพราะทรงกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณเคารพบูชาเฉพาะสุริยเทพหรืออะตัน (Aton) อันถือได้ว่าการริเริ่มความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism)

Amenhotep 4
6. ตูแตงคามอน (Tutankhamon) ปกครอง
อียิปต์ต่อจากอเมนโฮเต็ปที่ 4 ทรงประกาศยกเลิกศาสนาของอเมนโฮเต็ปที่4
และกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณหันมาศรัทธาในเทพเจ้าอะมอนเร และเทพเจ้าอื่นๆ
ดังเดิม ตลอดจนย้ายเมืองหลวงกลับธีปส์

Tutankhamon
7. รามซีสที่ 2 (Ramses 2)
ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย
ทรงเก่งในการรบทรงนำดินแดนที่สูญเสียไปในสมัยอเมนโฮเต็ปที่ 4
กลับคืนมาเป็นของอียิปต์ดังเดิมและทรงยุติสงครามกับฮิตไตท์ในการรบที่คาเดช (Kadesh) โดย
อียิปต์ได้ปาเลสไตน์ ฮิตไตท์ได้ซีเรีย ทรงปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส
ทรงเป็นนักรักเพราะทรงมีโอรส 100 คน มีธิดา 50 คน
สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 90 ปี ครองราชย์ 67 ปี
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ปรากฎว่าจักรวรรดิ์โบราณก็เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับ
เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ
ขุนนางก่อความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันพระขึ้นปกครองอียิปต์ครั้งราชวงศ์ที่
21 ขึ้นที่เมืองทานิส (Tanis) และอียิปต์ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก

Ramses 2
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน 940 B.C. เรื่อยมา สมัยนี้ชนภายนอกปกครองอียิปต์โบราณเป็นระยะเวลายาวนานกล่าวคือ
1. ลิบยาน (Libyans) ปกครองระหว่าง 940-710 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 22-24
2. เอธิโอเปียน (Ethiopians) ปกครองระหว่าง 736-657 B.C. ตั้งราชวงศ์ที่ 25
3. อัสซีเรียน (Assyrians) ปกครองระหว่าง 664-525 B.C.
4. เปอร์เซียน (Perians) ปกครองระหว่าง 525-404 B.C.
5. เปอร์เซียนปกครองอียิปต์ครั้งที่สองระหว่าง 341-332 B.C.
6. กรีก (Greeks) ปกครองระหว่าง 332-30 B.C.
เทพเจ้าที่สำคัญ
เทพเจ้าอะมอน-เร (Amon-Re)
เป็น
เทพเจ้าที่สูงสุดในมวลเทพเจ้าทั้งหลาย ของอียิปต์โบราณ
เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและชีวิต
ชื่อเทพเจ้าองค์นี้เกิดจากการนำเทพเจ้าอะมอนซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งอากาศและ
ความอุดมสมบูรณ์ของเมืองธีปส์
มารวมกับเทพเจ้าเรซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ของเมืองเฮลิโอโปลิส
ได้เป็นเทพเจ้าอะมอน-เร ผู้ทรงพลังและอิทธิฤทธิ์

Amon-Re
เทพเจ้าโอซิริส (Osiris) -
เป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำไนล์ เทพเจ้าแห่งความตาย และเทพเจ้าแห่งการตัดสินภายการตายเพื่อการเข้าสู่ภายหน้า

Osiris
เทพเจ้าไอริส (Isis)
เทพีผู้เป็นมเหสีของเทพเจ้าโอซิริส เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

Isis
เทพเจ้าโฮรัส (Horus)
เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ของชาวอียิปต์โบราณแถบดินแดนสามเหลี่ยม
ชาว
อียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าเทพเจ้าแต่ละองค์ควรมีสัตว์ไว้คอยรับใช้ดังนั้น
จึงมีการสมมติสัตว์รับใช้ดังกล่าวให้เทพเจ้า เช่น
แกะตัวผู้เป็นสัตว์รับใช้ของเทพเจ้าอะมอน-เร เป็นต้น
สำหรับเรื่องการบวงสรวงนั้นพระเป็นผู้ประกอบพิธี และได้รับค่าจ้างตอบแทน

Horus
ศิลปะอียิปต์โบราณ
ศิลปะอียิปต์
(2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน
แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน
มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม
และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม
โดยเฉพาะพิธีฝังศพ
ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก
จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี
และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย
จิตรกรรม
งาน
จิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ
สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง
หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้
ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ
นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ
ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ
มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย
และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ
เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย
นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว

ตัวอย่างภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ภาพประกอบพิธีกรรม)
ประติมากรรม
งาน
ประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม
มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง
ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต
หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์
ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย
นอกจากนี้ยังมีการทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย
งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม
หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ
ประติมากรรม
ของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง
บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น
รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า
นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วน

สฟิงซ์ ประติมากรรมขนาดใหญ่
พระเศียรของพระนางเนเฟอติตติ (Nefertiti)